สรุปหนังสือทั้ง3 เล่ม


          


          พระอารามนี้เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อว่าวัดเสาประโคน ส่วนเรื่องที่เป็นมาอย่างไรจึงมีชื่อดังนั้น ไม่ทราบแน่นอน เพราะยังไม่พบหลักฐานยืนยัน มีเพียงแต่เรื่องเล่าว่าเมื่อท่านสุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองในราว พ.ศ. 2317 ก็ได้กล่าวถึงวัดนี้ไว้ว่า

ถึงอารามนามวัดประโคนปัก

ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน

เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน

มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ฦาชา”


          แต่โดยอาศัยตามคำบอกเล่าของท่านผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และเป็นคนในแถวนี้ได้ให้ข้อมูลในการสันนิษฐาน ได้เรื่อง ดังนี้
          ในสมัย60ปีก่อน ขณะที่ท่านผู้เล่า ยังเด็กอยู่ได้เคยเห็นเสาหินต้นหนึ่ง ขนาดโตประมาณเท่าเสา  สูง ๒ ศอกเศษ ปักอยู่ที่มุมภายในพระระเบียงรายรอบพระอุโบสถ ใกล้กับพระเจดีย์ที่ตั้งอยู่ในทิศเหนือด้านหลังพระอุโบสถที่ยังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้ ซึ่งในขณะนั้นสถานที่นั้นยังรกเป็นป่าหญ้าคาเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในสมัยนั้น ( นัยว่า ผู้ที่มาดูบางคนก็เห็น แต่บางคนไม่เห็น ) ต่อภายหลังผู้บอกเล่าได้มาดูอีกแต่ไม่เห็น และไม่ทราบว่าเสาหินนั้นสูญหายไปอเมื่อไร ดังนั้น เรื่องนี้จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าการเรียกวัดนี้ว่า “เสาประโคน” อาจถือเอาเสาหินนั้นเป็นนิมิตก็ได้ ทั้งตรงกับความหมายของคำว่า “ประโคน” ซึ่งใช้เป็นชื่อเรียกเสาใหญ่ที่ปักหมายเขตแดนอีกด้วย คิดดูก็พอสมเหตุสมผล แต่จะรับรองว่าเป็นจริงก้ไม่ได้
          คำว่า “ประโคน” ซึ่งเป็นชื่อของพระอารามนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิยามไว้ดังนี้ว่า “โคน เห็นจะแปลว่า เสา ว่า หลัก ตัวอย่างเช่นคำ เสาประโคน ประ เป็นคำนำเข้าไปให้ผังพริ้งเพริศ เช่น จบ เป็นประจบ จวบเป็นประจวบ ชุมเป็นประชุม”
         ส่วนหลักฐานที่จะแสดงให้รู้ ว่าวัดนี้ได้สร้างขึ้นในปีไหน ใครเป็นผู้สร้าง และได้สร้างถาวรวัตถุหรือปูชนียวัตถุอะไรไว้บ้างในยุคแรก ก็ไม่มีปรากฏ จึงทราบไม่ได้
        ในสมัยก่อนนี้วัดดุสิตยังไม่มีพื้นที่กว้างขวางมากนัก แต่ที่มีอาณาเขตอย่างในปัจจุบันนี้ก็เพราะว่าได้รวมเอาพื้นที่ของวัดอีกสองวัดมารวมไว้ คือวัดน้อยทองอยู่ และวัดภุมรินราชปักษี แต่ก่อน 3 วัดนี้อาณาเขตแยกกันอยู่ แต่พอมาต้นรัชกาลที่ 4 บริเวณที่เป็นวัดภุมรินฯนั้นไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาแล้ว ก็เลยมีการยุบรวมพื้นที่วัดดุสิตกับวัดภุมรินไว้ด้วยกัน
         ต่อมาหลังจากที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายสัมพันธมิตรมาทิ้งระเบิดลงในย่านบางลำพูและรวมถึงในแถบนี้ด้วย วัดน้อยทองอยู่ซึ่งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาก็ได้ถูกระเบิดทำลาย จึงมีการรวมพื้นที่วัดเข้าด้วยกันอีก ดังนั้นวัดดุสิตจึงเป็นการรวมสามวัดเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว

        

        จิตรกรรมฝาผนังในวัดดุสิดารามวรวิหาร นั้นถูกเขียนขึ้นโดยฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่1 เขียนไว้เป็นตอนๆ คือ ตั้งแต่พื้นพระอุโบสถขึ้นไปถึงขอบธรณีล่างของหน้าต่าง เขียนภาพต้นไม้ดอกไม้ไว้โดยรอบทั้ง 4 ด้าน ตั้งแต่เหนือขอบธรณีล่างขึ้นไปถึงขอบธรณีบนของหน้าต่างเขียนภาพพระพุทธประวัติไว้ 3 ด้าน คือ ที่กำแพงด้านหน้าและด้านข้างทั้ง 2 ของพระอุโบสถ ส่วนที่กำแพงด้านหลังในระดับนี้ เขียนภาพยมโลก ตั้งแต่ขอบธรณีบนขึ้นไปเขียนภาพเทพชุมนุม 3 ชั้นไว้ที่ฝาผนังด้านข้างทั้ง 2 ส่วนที่ฝาผนังด้านหน้าในระดับเดียวกัน เขียนภาพมารวิชัย ที่ฝาผนังด้านหลังเขียนภาพมนุษยโลกและเทวโลกที่บานหน้าต่างทุกบาน มีภาพเทวรูปยืนประนมมืออยู่บนแท่น และที่บานประตูทุกบาน มีภาพยักษ์แบกแท่นซึ่งมีเทวรูปยืนประนมมืออยู่เบื้องบน 




บานประตู





ภาพมารวิชัย

ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีชื่อเสียง นั่นก็คือ ภาพนรกภูมิ


ภาพนรกภูมินั้นเขียนไว้ที่ผนังด้านหลังองค์พระประธาน จากขอบประตูลงมาถึงเบื้องล่าง ขนาดพื้นที่ค่อนใหญ่
       
        เหตุการณ์โดยรวมนั้น กล่าวถึงเมื่อครั้งที่พระเถระองค์หนึ่งชื่อ "พระมาลัย" อยู่ ณ โรหนคาม ในลังกาทวีป ท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์เดชมาก จึงมักไปโปรดสัตว์ในเมืองนรกอยู่เนืองๆ
       
        ครั้นเมื่อกลับมายังเมืองมนุษย์แล้ว ก็นำข่าวคราวของผู้อยู่ในเมืองนรก มาเล่าให้ญาติมิตรได้รับรู้ บรรดาญาติทั้งหลายจึงต่างทำบุญกุศลส่งไปให้
       
        ภาพนรกภูมิที่วัดดุสิดาราม วาดเป็นเหตุการณ์พระมาลัยโปรดสัตว์, จำแนกให้เห็นถึงนรกขุมต่างๆ, พระยมกำลังตัดสินโทษวิญญาณคนเพิ่งตาย และการทัณฑ์ด้วยรายละเอียดพิลึกพิลั่นพิสดารสารพัดอย่าง
       
        นรกภูมิประกอบไปด้วย ขุมนรกใหญ่ 8 ขุม คือ สัญชีพนรก, กาฬสุตตนรก, สังฆาฎนรก, โรวุนรก, มหาโรรุวนรก, ตาปนรก, มหาตาปนรก และมหาอเวจีนรก
       
        ภาพวาดเกี่ยวกับขุมนรก มักจะวาดเป็นตารางสี่เหลี่ยมจตุรัส มีใบหน้าผู้คนแออัดยัดเยียดทุกข์ทรมานอยู่ในนั้น
       
        เท่านั้นยังไม่พอ แต่ละขุมนรกยังแบ่งเป็นขุมย่อยๆ ซึ่งวาดเป็นรูปสี่เหลี่ยมห้อมล้อมภาพย่อหน้าที่แล้ว เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสแผ่ออกไป 4 ทิศ
       
        นรกที่วัดดุสิดาราม วาดไว้เพียงแค่ขุมเดียวคือ สัญชีพนรก ซึ่งถือกันว่ามีความโหด มัน ฮา ฮาร์ดคอร์หนักหนาสาหัสกว่าขุมอื่นๆ เป็นสัญลักษณ์แทนนรกที่เหลือทั้งหมด














Creative Commons License

จิตกรรมฝาผนังวัดดุสิดารามวรวิหาร by รัฐวิทย์ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น